สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย

ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตย ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประธานาธิบดี ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน (Susilo Bambang Yudhoyono) (ตุลาคม 2547)
รมว.กต. ดร.ฮัสซัน วิรายูดา (Hassan Wirajuda) (ตุลาคม 2547)
ที่ตั้ง อินโดนีเซียมีพื้นที่ 5,193,250 ตารางกิโลเมตร เป็นแผ่นดิน 2,027,087ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ทะเล 3,166,163 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศหมู่เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยกว่า 17,508 เกาะ รวมอยู่ในพื้นที่ 4 ส่วน คือ
– หมู่เกาะซุนดาใหญ่ ประกอบด้วยเกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และสุลาเวสี
– หมู่เกาะซุนดาน้อย ประกอบด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลี ลอมบอก ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร์

อ่านเพิ่มเติม

ราชอาณาจักรกัมพูชา

ราชอาณาจักรกัมพูชา

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะภูมิประเทศ
ที่ตั้ง กัมพูชาตั้งอยู่กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์) และลาว (แขวง อัตตะปือและจำปาสัก) ทิศตะวันออกติดเวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกู ซาลาย ดั๊กลั๊ก ส่องแบ๋ เตยนิน ลองอาน ด่งท๊าบ อันซาง และเกียงซาง) ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด) และทิศใต้ติดอ่าวไทย

อ่านเพิ่มเติม

บรูไนดารุสซาลาม

บรูไนดารุสซาลาม

การศึกษาของบรูไนดารุสซาลาม

ระบบการศึกษา
ประเทศบรูไนดารุสซาลามไม่มีการศึกษาภาคบังคับ แต่การศึกษาเป็นสากล และจัดให้ฟรีสำหรับประชาชนทั่วไป การศึกษาแบ่งออกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 1 ปี ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 7-8 ปี ซึ่งแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2-3 ปี และระดับเตรียมอุดมศึกษา 2 ปี และระดับมหาวิทยาลัย 3-4 ปี

อ่านเพิ่มเติม

ปัญหาของอาเซียน

ปัญหาของอาเซียน

1. ความแตกต่างขงประเทศยากจนและร่ำรวย
ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียนยากจนกว่าสมาชิกเดิม ค่าเิิงินต่างกันมาก ถ้าเปิดตลาดเสรีจะเป็นปัญหา ประเทศรวยก็ไม่อยากจ่ายเงินช่วยประเทศจน อ่านเพิ่มเติม

ผลงานของอาเซียน

1. ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในระยะแรก
จากที่กล่าวไปแล้วว่าในระยะแรกอาเซียนตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันคอมมิวนิสต์ ดังนั้นในช่วงแรกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี คศ. 1967 ประเทศสมาชิกเริ่มแรกทั้งห้าจึงยังไม่กระตือรือร้นจะพัฒนาอะไรมากนัก จนกระทั้งไซง่อนแตกในปี คศ. 1975 ผู้นำของประเทศทั้งห้าเริ่มเกรงกลัวภัยคุกคามจึงหันกลับมามองที่อาเซียนที่ตัวเองตั้งไว้ จึงเริ่มการประชุมสุกยอดครั้งแรกของอาเซียนในปี คศ. 1976 ที่บาหลี เพื่อแสดงให้เห็นว่าอาเซียนมีความแข็งแกร่ง ประเทศคอมมิวนิสต์ไม่อาจเจาะเข้าง่ายๆ

อ่านเพิ่มเติม

โครงสร้างของอาเซียน

โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้

สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519 เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก

อ่านเพิ่มเติม

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย อ่านเพิ่มเติม

ประชุมสุดยอดอาเซียน หรือ อาเซียน ซัมมิท ครั้งที่ 14

ประชุมสุดยอดอาเซียน อาเซียน ซัมมิท 2009 (14th ASEAN SUMMIT 2009) ประชุม อาเซียน ซัมมิต

หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ  “กฏบัตรอาเซียน”  โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดความร่วมมือในกฎบัตรอาเซียน เพื่อมอบประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียนเป็นความตกลงระหว่างประเทศสมาชิกที่กำหนดกรอบโครงสร้างองค์กร เป้าหมาย หลักการ และกลไกที่สำคัญต่างๆ ของอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ

อ่านเพิ่มเติม

อาเซียน +3

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

อ่านเพิ่มเติม